วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตลาดปากช่อง

                     จังหวัดนครราชสีมา หรืออีกชื่อนึงที่เรารู้จักกันดี คือ "จังหวัดโคราช" เป็นจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งได้ถูกขนานนามว่าเป็นประตูสู่ภาคอีสาน โดยในตัวจังหวัดโคราชมีทั้งหมด 26 อำเภอ และอีก 6 กิ่งอำเภอ แต่ตลาดที่เราจะแนะนำและพาไปทำความรู้จักในครั้งนี้ อยู่ที่อำเภอ "ปากช่อง"


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


              เนื่องจากการเดินทางในครั้งนี้พวกเราทั้งหมดได้เลือกเดินทางโดยรถไฟ 
ดังนั้นสถานที่แรกที่พวกเราไปถึงก็คือ "ชานชาลารถไฟ ปากช่อง" นั่นเอง

สถานีรถไฟปากช่อง

         สำหรับสถานีรถไฟปากช่องนั้นเป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่เทศบาลอำเภอปากช่อง อำเภอปากช่อง 
จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นระยะทาง 180 กิโลเมตร

ภาพสถานีรถไฟปากช่องในอดีต

สถานีรถไฟปากช่องในปัจจุบัน
ด้วยความที่เราออกเดินทางในตอนเช้าตรู่ ที่สถานีรถไฟจึงยังไม่ค่อยมีผู้คนมากนัก ทำให้สามารถเก็บภาพที่สงบเงียบของสถานีที่ปกติมักจะมีผู้คนมาใช้บริการอย่างคึกคักมากมายอยู่ตลอดเวลามาได้ 

แขกพิเศษประจำสถานี :)


      เมื่อมาถึงอำเภอปากช่องเป็นที่เรียบร้อยเราก็ได้รีบมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายของเรา 
และตลาดที่เราจะพาไปแนะนำให้รู้จักในครั้งนี้ก็คือ "ตลาดสดเทศบาลปากช่อง"
บริเวณใกล้เคียงกับตลาดในสมัยก่อน

ป้ายชื่อตลาดขนาดยักษ์ในปัจจุบัน

ถึงตลาดสดปากช่องแล้ว
         ตลาดสดปากช่องนั้นเป็นตลาดเช้า เมื่อเราไปถึงก็พบกับชาวบ้านประจำท้องถิ่นที่ออกมาจับจ่ายใช้สอยสิ่งของต่างๆมากมาย ในตัวตลาดนั้นมีทั้งกับข้าวอาหารทั้งที่ถูกปรุงพร้อมรับประทาน หรือวัตถุดิบที่สามารถเลือกซื้อไปประกอบอาหารเองได้ หรือแม้แต่อุปกรณ์สิ่งของต่างๆที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน


ร้ายรถเข็นขายส้มตำและแกงต่างๆ

แผงขายปลาชนิดต่างๆ

ชาวบ้านที่ออกมาเลือกซื้อของ

ร้านขายกรงนก และเหล่าตะกร้าชนิดต่างๆที่ทำมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

แผงขายพริกแห้ง กระเทียม และเครื่องแกงต่างๆสำหรับปรุงอาหาร

ร้านขายยาดองที่พบได้ไม่บ่อยนักในกรุงเทพ

แผงผักสดชนิดต่างๆมากมาย
ข้าวโพดที่ชาวบ้านปลูกและนำมาขายเอง

มีดทำครัวหลากหลายชนิด

ร้านขายนาฬิกาหลากหลายรูปแบบ

พระสงฆ์ที่ออกมาเชิญชวนให้ชาวบ้านทำบุญ

รถซาเล้งรับจ้าง อีกหนึ่งอาชีพในตลาดแห่งนี้

วัดคีรีวันต์ วัดที่เป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนในตลาดแห่งนี้
        ที่ตลาดสดปากช่องนี้สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของชาวบ้านได้อย่างดี รูปแบบของตลาดที่เป็นแบบแผงตั้งเรียงรายกันแบบง่ายๆ ชาวบ้านที่ออกมาซื้อของอย่าขวั่กไขว่ในยามเช้า พระสงฆ์ที่ออกมาบิณฑบาตรในตลาด และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่า วิถีแห่งชนบทหรือการดำเนินชีวิตของชาวบ้านนั้น แม้ปัจจุบันโลกจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แต่วิถีชีวิต วัฒนธรรมหรือการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนนั้น ไม่ได้ถูกกลืนหายไปตามกาลเวลาที่ล่วงเลยไปด้วยเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น